การหล่อลื่นเครื่องยนต์

ข้อควรระวัง
การสัมผัสกับน้ำมันเครื่องที่ใช้งานแล้วเป็นเวลานานหรือซ้ำไปซ้ำมาอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผิวหนัง ตลอดจนมะเร็งผิวหนังได้ ล้างบริเวณที่สัมผัสโดนทันทีด้วยสบู่หรือน้ำ (00358b)

ข้อควรระวัง
หากกลืนน้ำมันเครื่องลงไป ห้ามทำให้อาเจียน ให้พบแพทย์ทันที ในกรณีที่สัมผัสกับดวงตา ให้ล้างด้วยน้ำทันที พบแพทย์หากยังคงมีอาการระคายเคืองอยู่ (00357d)
คำเตือน
อย่าเปลี่ยนยี่ห้อสารหล่อลื่นโดยขาดการพิจารณา เนื่องจากสารหล่อลื่นบางชนิดจะมีปฏิกิริยาทางเคมีหากผสมกัน ใช้สารหล่อลื่นที่ด้อยมาตรฐานอาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ (00184a)
ควรใช้น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมเพื่อให้อุณหภมิต่ำสุดตามที่คาดหวังก่อนถึงกำหนดเวลาการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องในครั้งถัดไป
โปรดดูที่
ตาราง 1มอเตอร์ไซค์นี้ได้รับการติดตั้งแต่แรกด้วย GENUINE HARLEY-DAVIDSON H-D 360 MOTORCYCLE OIL 20W50 H-D 360 เป็นน้ำมันที่ต้องการภายใต้สภาวะการทำงานปกติ
หากอาจมีการทำงานภายใต้สภาวะความหนาวเย็นหรือความร้อนสูงเกินไป อ้างอิงตาม
ตาราง 1
สำหรับทางเลือกอื่น
หากจำเป็นและไม่มี H-D 360 ให้เติมน้ำมันเครื่องที่ได้รับการรับรองสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล การกำหนดที่ยอมรับได้ ได้แก่ : CH-4 CI-4 และ CJ-4 ความหนืดที่ต้องการตามลำดับจากมากไปหาน้อยคือ: 20W50 15W40 และ 10W40
ในโอกาสแรก ให้พบตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนกลับไปเป็นน้ำมัน Harley-Davidson 100 เปอร์เซ็นต์
ตาราง 1 น้ำมันเครื่องที่แนะนำ
ชนิด | ความหนืด | อุณหภูมิโดยรอบ ที่ต่ำที่สุด | สภาพอากาศเย็นเริ่มต้นด้านล่าง 50 °F (10 °C) |
---|
น้ำมันเครื่องยนต์สังเคราะห์สำหรับมอเตอร์ไซด์ Screamin' Eagle SYN3 | SAE 20W50 | สูงกว่า -1 °C (30.2 °F) | ยอดเยี่ยม |
น้ำมันเครื่องแท้ Harley-Davidson H-D 360 | SAE 20W50 | สูงกว่า 4 °C (39.2 °F) | ดี |
น้ำมันเครื่องแท้ Harley-Davidson H-D 360 | SAE 50 | สูงกว่า 16 °C (60.8 °F) | แย่ |
น้ำมันเครื่องแท้ Harley-Davidson H-D 360 | SAE 60 | สูงกว่า 27 °C (80.6 °F) | แย่ |
หล่อลื่นที่อุณหภูมิต่ำ
เปลี่ยนน้ำมันเครื่องบ่อยๆ เมื่อสภาพอากาศเย็นลง
หากขี่มอเตอร์ไซค์น้อยกว่า
24 km (15 mi)
ในอุณหภูมิโดยรอบต่ำกว่า
16 °C (60 °F)
ให้ลดระยะการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเป็น
2,400 km (1500 mi)
หมายเหตุ
ในอุณหภูมิโดยรอบที่ต่ำลงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องบ่อยขึ้น
ไอน้ำเป็นผลจากการเผาไหม้ตามปกติ ขณะขับขี่ในสภาพอากาศหนาว บางครั้งไอน้ำจะควบแน่นกลายเป็นน้ำอยู่บนพื้นผิวที่เย็นด้านในของเครื่องยนต์ ในสภาพอากาศที่เย็นจัด น้ำนี้จะกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็งหรือน้ำแข็ง หากเครื่องยนต์ไม่อุ่นจนถึงอุณหภูมิที่สามารถทำงานได้ เกล็ดน้ำแข็งหรือน้ำแข็งที่สะสมอยู่จะอุดสายน้ำมันเครื่องและเป็นเหตุให้เครื่องยนต์เสียหายได้ เมื่อเวลาผ่านไป น้ำจะสะสมมากขึ้นและเข้าไปผสมกับน้ำมันเครื่อง ทำให้เกิดเป็นเกล็ดน้ำแข็งซึ่งเป็นอันตรายต่อเครื่องยนต์ได้
หากรอให้เครื่องยนต์อุ่นจนถึงระดับอุณหภูมิปกติในการขับขี่ น้ำส่วนใหญ่จะระเหยและออกไปทางท่อหายใจของห้องข้อเหวี่ยง